Loading...

ประวัติห้องสมุด

สืบเนื่องจากนโยบายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ต้องการเปิดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาไปยังส่วนภูมิภาค จึงทำให้มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ซึ่งสาขาวิชาที่เปิดการเรียนการสอนได้แก่ สาขาพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ และคณะรัฐศาสตร์ ในการผลักดันให้มีการเรียนการสอนนั้นได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี จากนโยบายดังกล่าวจำเป็นต้องมีแหล่งสารสนเทศบริการวิชาการสำหรับ อาจารย์ นักศึกษา บุคลากร จึงทำให้มีการก่อตั้งห้องสมุด มธ. ศูนย์พัทยาขึ้นในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2549 เพื่อเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญ ช่วยสนับสนุนด้านการศึกษาค้นคว้าของอาจารย์ นักศึกษา และบุคลากร

ข้อมูลพื้นฐานของห้องสมุด มธ. ศูนย์พัทยา

พื้นที่ให้บริการ

344

ตร.ม.

ที่นั่งอ่าน

 40

ที่นั่ง

ฐานข้อมูลกับการให้บริการ

ฐานข้อมูล เป็นแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่สำนักหอสมุดให้ความสำคัญ ในการให้บริการเพื่อสนองตอบต่อการเรียนการสอนและการวิจัยในมหาวิทยาลัยและด้วยการปรับเปลี่ยนนโยบายในการบริหารทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุดที่มุ่งเน้นการเป็น Digital Library ด้วยการบอกรับฐานข้อมูลออนไลน์เพิ่มมากขึ้นและในรอบปีที่ผ่านมา ได้มีการบอกรับฐานข้อมูลเพื่อบริการในห้องสมุดทุกเครือข่าย

โดยจำแนกเป็น 4 สาขา

  • ฐานข้อมูลสหสาขา 27 ฐานข้อมูล

  • ฐานข้อมูลสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 8 ฐานข้อมูล

  • ฐานข้อมูลสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 16 ฐานข้อมูล

  • ฐานข้อมูลสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 18 ฐานข้อมูล

บริการสืบค้นข้อมูล

ONE SEARCH: ระบบค้นหากลาง

ระบบค้นหาทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทของห้องสมุดจากจุดเดียว

ค้นหา     https://library.tu.ac.th

WORLDCAT & WORLDSHARE ILL: ระบบค้นหาทรัพยากรในห้องสมุดทั่วโลก

ระบบค้นหาทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดเครือข่ายของ OCLC (Online Computer Library Center) ซึ่งเป็นเครือข่ายห้องสมุดนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก ผู้ใช้บริการสามารถค้นหาและยืมหนังสือระหว่างห้องสมุดในเครือข่ายของ (OCLC Online Computer Library Center) ได้ทั่วโลก

ค้นหา     https://library.tu.ac.th

 

KOHA: ระบบค้นหาหนังสือและโสตทัศนวัสดุ

ระบบค้นหาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบฉบับพิมพ์ ได้แก่ หนังสือ วารสาร เอกสาร และโสตทัศนวัสดุที่มีให้บริการในห้องสมุด

ค้นหา     https://koha.library.tu.ac.th/punsarn/opac/main/

 

TUIDX: ระบบค้นหาบทความวารสาร

แหล่งค้นหาบทความวารสารที่สำนักหอสมุดบอกรับ นักศึกษาสามารถสืบค้นบทความที่ต้องการ และจดรายละเอียดเกี่ยวกับฉบับพิมพ์ เพื่อนำข้อมูลฉบับพิมพ์ไปขอยืมตัวเล่มวารสารจากเจ้าหน้าที่หอสมุดได้ กรณีที่เป็นบทความอิเล็กทรอนิกส์ นักศึกษาจะสามารถเข้าถึงเอกสารฉบับเต็มได้ทันที

ค้นหา     https://index.library.tu.ac.th/

 

TU DIGITAL COLLECTIONS: ระบบค้นหาทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์

ระบบค้นหาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลของห้องสมุด

ค้นหา     https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/

การยืม (LENDING SERVICE)

สมาชิกสามารถยืมหนังสือได้ตามสิทธิ์การยืม ดังนี้

สิทธิการยืมและค่าปรับ

ประเภทสมาชิก

จำนวนเล่ม

จำนวนวัน

หมายเหตุ

นักศึกษาระดับปริญญาตรี

20

15

 

นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

40

15

 

นักศึกษาพิเศษ

- ระดับปริญญาตรี

- ระดับบัณฑิตศึกษา

 

20

40

 

30

30

 

อาจารย์/นักวิจัย

60

1 ภาคการศึกษา

 

บุคลากร

20

15

 

สมาชิกสมทบ/บุคลากรเกษียณอายุราชการ มธ.

5

15

ภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 2 เล่ม

นักเรียนโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

5

15

 

 

 ค่าปรับเกินกำหนดส่ง

ประเภททรัพยากร

ค่าปรับ

หนังสือ / วิทยานิพนธ์ / เอกสาร

5          บาท/วัน 

หนังสือสำรอง

10        บาท/วัน 

วัสดุประกอบ (ทั่วไป)

5          บาท/วัน 

วัสดุประกอบ (1 วัน)

10        บาท/วัน

วัสดุประกอบ (3 วัน)

10        บาท/วัน

วัสดุประกอบ (7 วัน)

10        บาท/วัน

วัสดุประกอบ (2 ชั่วโมง)

10        บาท/วัน

 

การยืมต่อ (RENEWING SERVICE)

สมาชิกสามารถ ยืมหนังสือต่อด้วยตนเอง โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งหากรายการนั้นไม่มีการจอง ทั้งนี้ ค่าปรับค้างชำระต้องไม่เกิน 3,000 บาท

การจองหนังสือ (HOLDING SERVICE)

สมาชิกสามารถ จองหนังสือด้วยตนเอง หากระบบแสดงสถานภาพของหนังสือเป็น checked out

การแจ้งเตือนทางอีเมล (E-MAIL NOTIFICATIONS SERVICE)

สมาชิกจะได้รับแจ้งเตือนทาง e-mail ก่อนถึงกำหนดส่งคืน โดยสามารถกำหนดวันแจ้งเตือนด้วยตนเอง เพื่อจะได้ยืมต่อหรือนำมาส่งคืนตามกำหนดโดยไม่เสียค่าปรับ

บริการยืมระหว่างห้องสมุดสาขา

ข้อพึงปฏิบัติก่อนขอใช้บริการ:

1.บริการนี้สำหรับนักศึกษา อาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมาชิกสมทบ และบุคลากรของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ./ETDA)

2.ยืมหนังสือระหว่างท่าพระจันทร์ กับ ศูนย์รังสิต ส่งคำขอก่อนเวลา 10.00 น. สามารถรับหนังสือได้ในเวลา 14.30 น. ของวันเดียวกัน หากส่งคำขอหลัง 10.00 น. จะได้รับหนังสือเวลา 14.30 น. ของวันทำการถัดไป (ไม่นับวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) สำหรับศูนย์ลำปาง ศูนย์พัทยา และห้องสมุด สพธอ./ETDA จะได้รับ หนังสือภายใน 7 วันทำการ

3.สมาชิกแต่ละประเภทยืมหนังสือได้ตามสิทธิ์ ดังนี้

         - อาจารย์ นักวิจัย บรรณารักษ์ 60 เล่ม/1ภาคการศึกษา

         - นักศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี 40 เล่ม/15วัน

         - นักศึกษาปริญญาตรี 20 เล่ม/ 15วัน

         - ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง 20 เล่ม/15วัน

         - สมาชิกสมทบ 5 เล่ม/15วัน (ภาษาต่างประเทศ ยืมได้ไม่เกิน 2 เล่ม)

4.หนังสือที่ขอบริการ Book Delivery ห้องสมุดจะเก็บไว้ให้ 7 วัน ถ้าไม่มารับตามเวลาที่กำหนด จะดำเนินการ ส่งคืนห้องสมุดเจ้าของตัวเล่มต่อไป

Link   https://koha.library.tu.ac.th/cgi-bin/koha/opac-user.pl?_ga

บริการติดตามสถานะการยืมระหว่างห้องสมุด

 

 

TU-PULINET & TU-THAIPUL

https://tuthaipul.library.tu.ac.th/tuthaipul/checktu-thaipul.php?_ga=2.18850809.1104641515.1610595531-1878375080.1569723583

บริการยืมระหว่างห้องสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มหาวิทยาลัยสยาม และมหาวิทยาลัยศรีปทุม

 

WORLDSHARE ILL

https://tuthaipul.library.tu.ac.th/WorldShare/checkid.php?_ga=2.123168331.1104641515.1610595531-1878375080.1569723583

บริการยืมระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และห้องสมุดทั่วโลกในเครือข่าย OCLC กว่า 10,161 แห่ง

 

TULIBS BOOK DELIVERY

https://digi.library.tu.ac.th/delivery/checkid.php?_ga=2.123168331.1104641515.1610595531-1878375080.1569723583

บริการยืมระหว่างห้องสมุดระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตท่าพระจันทร์ ศูนย์รังสิต ศูนย์ลำปาง ศูนย์พัทยา และห้องสมุดสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ.